What is Flash Column Chromatography?

This may also work against the food’s desirability, according to Hagen. These feelings may unconsciously prompt us to think of such foods as tasting too good to be good for us. Nonetheless, marketers generally view such advertising as effective.

If it is not the way that pretty food activates the brain’s reward center, the study asks, “May the alluringly good-looking pizza actually seem healthier to you, by virtue of its aesthetics?”

People, foods, and objects strike us as classically pretty when they possess certain attributes, such as symmetry and self-similar patterns, that we consider beautiful in nature.

Hagen cites the example of Fibonacci series-based “golden spiral” patterns that appear in the repeating arrangements of plant leaves. In the case of food, the study asserts that people tend to associate food with a nature-based attractiveness as being better for them.

The first experiment involved tasking 803 participants with finding both “pretty” and “ugly” images of ice cream sundaes, burgers, pizza, sandwiches, lasagna, omelets, and salads. As expected, the participants rated the pretty versions of their foods as being healthier. They did not see tastiness, freshness, and portion size as influencing factors.

In another experiment, participants rated the healthiness of avocado toast. Before viewing images of the dish, individuals received information on the ingredients and price, which was identical for all of the examples.

Supporting the notion that attractiveness follows natural properties, individuals found the food was prettier when they were expecting an orderly, symmetrical, and balanced presentation in the image they viewed. Once again, the participants associated pretty foods with being more natural and more healthful.

To test the effect of attractiveness on purchasing behavior, Hagen asked 89 people if they would be willing to pay for either a pretty or an ugly bell pepper. Again, participants were more inclined to buy the better-looking pepper after judging it to be more natural- and healthful-looking. (They also expected it to taste better.)

Hagen also conducted a pair of online experiments using Amazon’s Mechanical Turk, confirming that only classical prettiness characteristics affected perceptions of the attractiveness of food.

Recent Developments in Chromatography

This may also work against the food’s desirability, according to Hagen. These feelings may unconsciously prompt us to think of such foods as tasting too good to be good for us. Nonetheless, marketers generally view such advertising as effective.

If it is not the way that pretty food activates the brain’s reward center, the study asks, “May the alluringly good-looking pizza actually seem healthier to you, by virtue of its aesthetics?”

People, foods, and objects strike us as classically pretty when they possess certain attributes, such as symmetry and self-similar patterns, that we consider beautiful in nature.

Hagen cites the example of Fibonacci series-based “golden spiral” patterns that appear in the repeating arrangements of plant leaves. In the case of food, the study asserts that people tend to associate food with a nature-based attractiveness as being better for them.

The first experiment involved tasking 803 participants with finding both “pretty” and “ugly” images of ice cream sundaes, burgers, pizza, sandwiches, lasagna, omelets, and salads. As expected, the participants rated the pretty versions of their foods as being healthier. They did not see tastiness, freshness, and portion size as influencing factors.

In another experiment, participants rated the healthiness of avocado toast. Before viewing images of the dish, individuals received information on the ingredients and price, which was identical for all of the examples.

Supporting the notion that attractiveness follows natural properties, individuals found the food was prettier when they were expecting an orderly, symmetrical, and balanced presentation in the image they viewed. Once again, the participants associated pretty foods with being more natural and more healthful.

To test the effect of attractiveness on purchasing behavior, Hagen asked 89 people if they would be willing to pay for either a pretty or an ugly bell pepper. Again, participants were more inclined to buy the better-looking pepper after judging it to be more natural- and healthful-looking. (They also expected it to taste better.)

Hagen also conducted a pair of online experiments using Amazon’s Mechanical Turk, confirming that only classical prettiness characteristics affected perceptions of the attractiveness of food.

การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ (รอบที่ ๕ โดยวิธีรับตรงอิสระ)

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ โดยมีรายละเอียดดังนี้

๑. จำนวนนักศึกษาที่รับ ๔ คน

โควตาความขาดแคลนรายจังหวัดและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

๑.๑ โควตาจังหวัด ศรีสะเกษ ๑ คน

โดยมีภูมิลำเนาในจังหวัดศรีสะเกษ ไม่น้อยกว่า ๓ ปี และสำเร็จศึกษาในโรงเรียนจังหวัดศรีสะเกษ

๑.๒ โควตาจังหวัด ชัยภูมิ ๑ คน

โดยมีภูมิลำเนาในจังหวัดชัยภูมิ ไม่น้อยกว่า ๓ ปี และสำเร็จศึกษาในโรงเรียนจังหวัดชัยภูมิ

๑.๓ โควตาจังหวัด อำนาจเจริญ ๑ คน

โดยมีภูมิลำเนาในจังหวัดอำนาจเจริญ ไม่น้อยกว่า ๓ ปี และสำเร็จศึกษาในโรงเรียนจังหวัดอำนาจเจริญ

๑.๔ โควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑ คน

โดยมีภูมิลำเนาในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่น้อยกว่า ๓ ปี และสำเร็จการศึกษาในโรงเรียนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ในกรณีที่ไม่สามารถรับโควตารายจังหวัดตามจำนวนที่ต้องการได้ จะเพิ่มจำนวนรับในส่วนของโควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

๒. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

๒.๑ เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย

๒.๒ มีภูมิลำเนาตามข้อ ๑.๑ ข้อ ๑.๒ ข้อ ๑.๓ และ ข้อ ๑.๔

๒.๓ เป็นผู้ที่สำเร็จศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) หรือเทียบเท่า โปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

๒.๔ ผู้สมัครจะต้องมีผลคะแนนวิชาสามัญ ๙ วิชา และ ผลคะแนนสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ PAT2 จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ไม่เกิน ๒ ปี โดยจะต้องมีผลคะแนนครบทุกรายวิชาและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ตามที่สาขาวิชากำหนด เพื่อใช้ยื่นประกอบการพิจารณาคัดเลือก

๒.๕ เป็นผู้ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่น้อยกว่า ๒.๗๕

๒.๖ เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย

๒.๗ เป็นบุคคลที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ คือไม่เป็นผู้ทุพลภาพไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ และต้องมีบุคลิกภาพที่ คณะกรรมการรับบุคคลเข้าศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพ

๒.๘ เป็นผู้ปราศจากโรคดังต่อไปนี้

          ๒.๘.๑ โรคเรื้อน

          ๒.๘.๒ โรคพิษสุราเรื้อรัง

          ๒.๘.๓ ติดยาเสพติดให้โทษ

๒.๘.๔ วัณโรคปอดที่คณะกรรมการเห็นว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

๒.๘.๕ โรคหัวใจที่คณะกรรมการเห็นว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

๒.๘.๖ โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคไต หรือโรคอื่นๆ ที่คณะกรรมการเห็นว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

๒.๘.๗ โรคหรือความพิการ หรือความผิดปกติอื่นใด อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงานหรือการประกอบวิชาชีพ

๒.๙ กรณีผู้สมัครขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งจากข้อ ๒.๑ ถึงข้อ ๒.๘ คณะกรรมการจะไม่พิจารณาผลการคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น รอบที่ ๕ (โดยวิธีรับตรงอิสระ) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓

๓. เกณฑ์การคัดเลือก

พิจารณาจากผลคะแนนวิชาสามัญ ๗ วิชา และความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT ๒) รายละเอียดดังแสดงในตาราง

  เปอร์เซ็นต์ (%) ค่าน้ำหนัก (%) เกณฑ์ขั้นต่ำ (%)
วิชาสามัญ ๗ วิชา ๙๐.๐    
  ๑.วิชาภาษาไทย (รหัส ๐๙)   ๑๐.๐ ๒๐.๐
  ๒.วิชาสังคมศึกษา (รหัส ๑๙)   ๑๐.๐ ๒๐.๐
  ๓.วิชาภาษาอังกฤษ (รหัส ๒๙)   ๑๕.๐ ๒๐.๐
  ๔.วิชาคณิตศาสตร์ ๑ (รหัส ๓๙)   ๑๕.๐ ๒๕.๐
  ๕.วิชาฟิสิกส์ (รหัส ๔๙)   ๑๕.๐ ๒๕.๐
  ๖.วิชาเคมี (รหัส ๕๙)   ๑๒.๕ ๒๐.๐
  ๗.วิชาชีววิทยา (รหัส ๖๙)   ๑๒.๕ ๒๐.๐
ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ PAT๒ (รหัส ๗๒) ๑๐.๐ ๑๐.๐ ๒๐.๐
รวม ๑๐๐.๐    

๔. เอกสารการรับสมัคร

๔.๑ การสมัครให้กรอกข้อมูลทางเว็บไซต์การรับเข้าของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

๔.๒ เอกสารหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ

๔.๓ รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นตาดำ ถ่ายมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน ขนาด๓X๔ ซม. จำนวน ๑ รูป

๔.๔ สำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษา (ปพ.๑) และสำเนาประกาศนียบัตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่สำเร็จการศึกษา พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

๔.๕ สำเนาทะเบียนบ้าน (ที่มีชื่อผู้สมัคร) จำนวน ๑ ฉบับ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

๔.๖ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาการเปลี่ยนชื่อสกุล(ถ้ามี) จำนวน ๑ ฉบับ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

๕. การรับสมัคร

สมัครทางเว็บไซต์ http://admissions.kku.ac.th  ระหว่าง วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๓

๖. กำหนดการรับสมัคร

รายการ วัน
วันรับสมัครทางเว็บไซต์ ๙ – ๑๕ มิ.ย. ๒๕๖๓
วันสุดท้ายของการชำระเงิน ๑๕ มิ.ย. ๒๕๖๓
วันประกาศผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๖๓
วันสอบสัมภาษณ์ (ไม่มีการสอบสัมภาษณ์*) ๒๓ มิ.ย. ๒๕๖๓
วันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา ๒๕ มิ.ย. ๒๕๖๓
วันรายงานตัวเข้าศึกษา ๒๙ – ๓๐ มิ.ย. ๒๕๖๓

*ให้อัพโหลดเอกสารการสอบสัมภาษณ์ทางระบบการรับเข้า

๗. ค่าธรรมเนียมการสมัคร

ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ ๔๐๐ บาท โดยจ่ายค่าสมัครผ่านธนาคาร หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส ตามใบแจ้งการชำระเงิน ภายในวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๓ เงินค่าสมัครจะไม่คืนให้ไม่ว่าในกรณีใดๆ (หากสมัครแล้วไม่ชำระเงินถือว่าการสมัครสอบไม่สมบูรณ์)

โครงการสานสัมพันธ์น้องพี่รังสีเทคนิค ม.ขอนแก่น

โครงการสานสัมพันธ์น้องพี่รังสีเทคนิค ม.ขอนแก่น จัดขึ้นเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้องรังสีเทคนิค ทำให้พี่ได้รู้จักน้อง เชื่อมต่อสายรหัส ทำกิจกรรมอาสาและบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน มอบรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมวิชาการเพื่อให้ความรู้และอัพเดทเทคโนโลยีทางการแพทย์ และทางรังสีเทคนิคอีกด้วย

วันที่จัดงาน: 8-9 กุมภาพันธ์ 2562

สถานที่: มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถานสงเคราะห์เด็กบ้านแคนทอง

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 : งานประชุมวิชาการรังสีเทคนิค ม.ขอนแก่น ณ ห้องประชุมชั้น2 อาคารสิริคุณากร

  • ฟรีค่าลงทะเบียน สำหรับศิษย์เก่ารังสีเทคนิค ม.ขอนแก่น และ นศ. PACS
  • รับจำนวนจำกัดเพีย 100 ท่าน (สำหรับศิษย์เก่า รับ 90 คน , บุคคลภายนอก 10 คน)

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562   “สานสัมพันธ์น้องพี่ RT KKU #1”

ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมของศิษย์เก่า 1200 บาท (รวมค่าอาหาร อาหารว่าง เครื่องดื่ม งานเลี้ยงสังสรรค์ ค่าอุปกรณ์สิ่งของบริจาค เสื้อที่ระลึก)

8.30 -11.00 น. ทำกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการร่วมกับน้องเด็กๆบ้านแคนทอง และบริจาคสิ่งของ ณ สถานสงเคราะห์เด็กบ้านแคนทอง มีรถรับส่งจากอาคาร MRI ไปยังบ้านแคนทอง

11.00 -12.00 น. สักการะเจ้าพ่อมอดินแดง ณ ศาลเจ้าพ่อมอดินแดง

12.00-13.00 น. น้องพี่รังสี รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน ณ บริเวณคณะสัตวแพทย์

13.00-15.30 น. กิจกรรมสานสัมพันธ์น้องพี่ และเชื่อมสายรหัส ณ บริเวณสระพลาสติก

15.30-17.30 น. ทำภาระกิจส่วนตัว

17.30-22.00 น. งานคืนสู่เหย้าและศิษย์เก่าดีเด่น “สานสัมพันธ์น้องพี่ RT KKU #1” ณ ห้องนภาลัย ราชาวดี รีสอร์ท & โฮเทล

  • ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมของผู้ติดตาม ท่านละ 500 บาท
  • ค่าเสื้อที่ระลึก (กรณีสั่งเพิ่ม) ตัวละ 300 บาท ค่าจัดส่ง 50 บาท

การลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ/กิจกรรมสานสัมพันธ์น้องพี่/งานสังสรรค์รังสี น้องพี่ มข.   
สามารถดำเนินการทางออนไลน์ ได้ตาม QR  code หรือ link https://goo.gl/forms/FPDG2DZZR2Lk3FCM2

ตรวจสอบผลการลงทะเบียน

*แจ้งการโอนเงิน 1200 บาท สำหรับค่ากิจกรรม มายังชื่อบัญชี นายบรรจง เขื่อนแก้ว บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เลขที่บัญชี 793-281662-6 สาขาศูนย์คอมเพล็กซ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กรุณาแนบไฟล์/slip การโอนเงิน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม (facebook: radiotech kku)

ผศ.ดร.บรรจง เขื่อนแก้ว 081-261-1963

รศ.ดร.เพชรากร หาญพานิชย์ 089-5723030

อ.ดร. ธวัชชัย ปราบศัตรู 095-763-8370

แนะนำหลักสูตรรังสีเทคนิค

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย:        วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค

ภาษาอังกฤษ:     Bachelor of Science Program in Radiological Technology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย):        วิทยาศาสตรบัณฑิต (รังสีเทคนิค)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย):         วท.บ. (รังสีเทคนิค)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ):    Bachelor of Science (Radiological Technology)

สถานที่ตั้ง

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น 40002

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ):     B.Sc. (Radiological Technology)

ความเป็นมาของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค  คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นกำเนิดขึ้น เมื่อ พ.ศ.2543 เปิดรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรังสีเทคนิค เข้าศึกษาต่อเนื่องเป็นระดับปริญญาตรี  ผลิตบัณฑิตทั้งสิน 11 รุ่น 200 กว่าคน  และปิดรับนักศึกษา ในปี พ.ศ. 2553  ปัจจุบันมีการปรับปรุง เมื่อปี พ.ศ. 2560  โดยสภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่10/2560วันที่ 4 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2560 เปิดสอน และเปิดรับ นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 6  เป็นรุ่นแรก ในปีการศึกษา 2561

นโยบาย

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ตรงที่สอดคล้องกับการประกอบวิชาชีพ มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน มีทัศนคติที่ดีในการทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการแก้ปัญหา การพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาชีพรังสีเทคนิค  มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ เข้าใจในสถานการณ์ของโลก สังคม สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและตลาดงาน  ภายใต้กลไกการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

วิสัยทัศน์

เป็นสถาบันการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคที่มีคุณค่าต่อสังคมไทย  และมนุษยชาติ

พันธกิจ

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้  ความสามารถ และคุณธรรมเพื่อรองรับความขาดแคลนนักรังสีเทคนิคในงานบริการสาธารณสุขของประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ และสร้างองค์ความรู้ทางรังสีเทคนิคเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพของประเทศ  และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม   เพื่อสร้างสังคมให้เข้มแข็งและมีดุลยภาพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) มีวัตถุประสงค์

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

1) มีความรู้และประสบการณ์ สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชารังสีเทคนิค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กฎ ระเบียบ และจรรยาบรรณวิชาชีพ ที่กำหนดไว้ในสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพ

2) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชารังสีเทคนิคในการแก้ไขปัญหา

3) มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร การวิเคราะห์ วิจัย การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการสมัยใหม่ และการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น

4) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ ตระหนักในบทบาทและมีความรับผิดชอบทั้งบริบท ทางวิชาการ วิชาชีพและชุมชน มีทักษะความพร้อมทางด้านสังคมที่จำเป็นต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในอนาคต

5) เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความเอื้ออาทร มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีภาวะผู้นำ สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำงานเป็นทีมกับสหสาขาวิชาชีพ และหรือหน่วยงาน สถาบันอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศ

การดำเนินการเรียนการสอน

ภาคการศึกษาต้น               เดือนสิงหาคม –เดือนธันวาคม

ภาคการศึกษาปลาย            เดือนมกราคม –เดือนพฤษภาคม

ภาคการศึกษาพิเศษ            เดือนมิถุนายน–เดือนกรกฎาคม (ถ้ามี)

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                              143 หน่วยกิต

(1)  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                           30       หน่วยกิต

       (1.1) กลุ่มวิชาภาษา                                           12       หน่วยกิต

       (1.2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์             12       หน่วยกิต

       (1.3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์                 6      หน่วยกิต

(2)  หมวดวิชาเฉพาะ           ไม่น้อยกว่า                       107      หน่วยกิต

        (2.1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                32      หน่วยกิต

        (2.2) กลุ่มวิชาบังคับ                                           75      หน่วยกิต

              (2.2.1) กลุ่มวิชาบังคับพื้นฐาน                           3     หน่วยกิต

              (2.2.2) กลุ่มวิชาชีพ                                     60      หน่วยกิต

              (2.2.3) กลุ่มวิชาฝึกงานและสหกิจศึกษา             12      หน่วยกิต

  (3)  หมวดวิชาเลือกเสรี     ไม่น้อยกว่า                            6     หน่วยกิต

download เอกสารแนะนำหลักสูตร

ลักษณะของงานที่ทำเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค ผลิตบัณฑิตเพื่อใช้งานเครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ทางด้านรังสีที่เป็นเทคโลยีชั้นสูงและมีราคาแพง  สำหรับการวินิจฉัยและรักษาโรค  โดยปฏิบัติงานเป็นนักรังสีการแพทย์ในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน เกี่ยวกับการนำรังสีมาใช้ในทางการแพทย์ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านรังสีวินิจฉัย ทำหน้าที่ถ่ายภาพรังสีโดยใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง เช่น เครื่องเอกซเรย์ทั่วไป เครื่องเอกซเรย์เต้านม สร้างภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์  และถ่ายภาพที่ไม่ใช้รังสีโดยใช้เครื่องสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก เป็นต้น  รวมทั้งทำหน้าที่ควบคุมคุณภาพของการถ่ายภาพรังสี ด้านรังสีรักษา ทำหน้าที่ควบคุมการใช้เครื่องจำลองการรักษา เครื่องฉายรังสีโคบอลต์-60 เครื่องเร่งอนุภาค เครื่องสอดใส่สารกัมมันตรังสี เป็นต้น เพื่อให้ปริมาณรังสีและตรวจสอบขอบเขตการรักษาให้ถูกต้องตามแผนการรักษา และด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ทำหน้าที่ถ่ายภาพรังสีเพื่อตรวจและรักษาด้วยสารเภสัชรังสีโดยใช้เครื่องมือ เช่น เครื่องถ่ายภาพรังสีแกมมา นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรืออาจารย์ทางรังสีเทคนิคและสาขาที่เกี่ยวข้อง

ความก้าวหน้าในการทำงาน

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขารังสีเทคนิค สามารถขอสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค เพื่อใช้ประกอบวิชาชีพในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนในตำแหน่งนักรังสีเทคนิคหรือนักรังสีการแพทย์ และจะได้รับค่าตอบแทนในส่วนของใบประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคนี้ด้วย   นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในสาขาที่เกี่ยวกับงานที่ทำ

โอกาสในการมีงานทำ 

ปัจจุบันยังถือว่านักรังสีเทคนิคเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลนมากที่สุดสาขาหนึ่ง เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งภาครัฐและเอกชน และมีค่าตอบแทนสูง  มีการจองตัวเข้าทำงานตั้งแต่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตร   นอกจากจะทำงานเป็นนักรังสีเทคนิค หรือนักรังสีการแพทย์แล้ว บัณฑิตยังสามารถทำงานเป็นนักวิชาการ นักวิจัย ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ หรือศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขารังสีเทคนิค และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งทำงานภาคธุรกิจ เป็นผู้แทนฝ่ายขาย ผู้สนับสนุนการขายตามบริษัทจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์หรือเลือกเป็นผู้ประกอบการอิสระได้

การศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขารังสีเทคนิคและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น รังสีเทคนิค วิทยาศาสตร์รังสีการแพทย์ ฟิสิกส์การแพทย์ นิวเคลียร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ วิศวกรรมนิวเคลียร์ วิศวกรรมชีวเวช ชีวเวชศาสตร์    หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพด้านอื่น ๆ ที่สนใจ

ข้อมูลเพิ่มเติม

Facebook/Radioteck kku

Website: www.radiology.kku.ac.th

โปสเตอร์แนะนำหลักสูตร