241666463_382693853443118_8078681429599888840_n

ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2563 และ ปี 2564

ภาควิชารังสีวิทยา ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และได้เข้ารับโล่รางวัลจาก รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ในวันที่ 10 กันยายน 2564 ณ ห้องประชุม 89 พรรษาสมเด็จย่า โดยมีรายละเอียดรางวัลดังนี้ 

    1. ผศ.พญ.จุฬาลักษณ์ พรหมศร ได้รับรางวัลวิจัยดีเด่นประจำปี 2563 ประเภท Clinical research อายุ 40 ปีขึ้นไป รางวัลที่ 3 จากผลงานวิจัยเรื่อง Evaluation of the diagnostic performance of apparent diffusion coefficient (ADC) values on diffusion-weighted magnetic resonance imaging (DWI) in differentiating between benign and metastatic lymph nodes in cases of cholangiocarcinoma ตีพิมพ์ใน Abdominal Radiology 2019; 44(2): 473-481.
    2. อ.นพ.ยุทธพงศ์ ระรื่นรมย์ ได้รับรางวัลวิจัยดีเด่นประจำปี 2564 ประเภท Clinical research อายุไม่เกิน 40 ปี รางวัลที่ 2 จากผลงานวิจัยเรื่อง An impact of microscopic positive margin on incomplete response after I-131 treatment in differentiated thyroid cancer ตีพิมพ์ใน Annals of Nuclear Medicine 2020; 34(7): 453-459.

612f227a375f9

คณะแพทยศาสตร์ เพิ่มห้อง MRI เสริมความเป็นเลิศในการตรวจวินิจฉัย

 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น ให้เกียรติเป็นประธาน เปิดตัวเครื่องตรวจ MRI ความแรง สนามแม่เหล็ก 1.5 เทสลา เพิ่มศักยภาพและความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยโรค เพื่อมอบประสิทธิภาพสูงสุดให้กับผู้เข้ารับบริการ

         เครื่อง MRI 1.5 เทสลา จะมีความสามารถในการตรวจหาโรคในอวยัวะต่างๆ ได้รายละเอียด และความคมชัดที่มากขึ้น ทำการตรวจได้มากชนิดภายในระยะเวลาการตรวจที่สั้นลง ครอบคลุมเกือบทุกส่วนในร่างกาย อาทิเช่น โรคทางสมอง โรคหัวใจ เต้านมสตรี ช่องท้อง กระดูกสันหลัง และไขสันหลัง อวัยวะในอุ้งเชิงกราน หลอดเลือดสมองและลำตัว ความผิดปกติของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อกระดูกส่วนต่างๆ เส้นเอ็นบริเวณข้อกระดูก เป็นต้น รวมไปถึงการตรวจอวยัวะอื่นๆ ที่ไม่สามารถตรวจพบด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือในผู้ป่วยที่ไม่สามารถตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และใช้สารทึบแสงได้ เช่น ผู้ป่วย ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยแพ้สารทึบรังสี หรือผู้ป่วยในภาวะไตวาย

รวมทั้งมีซอฟท์แวร์พิเศษที่ทันสมัยเพื่อรองรับการตรวจวินิจฉัยแยกโรคที่มีความซับซ้อนได้ และการตรวจเทคโนโลยีใหม่ ได้แก่ MR elastography (MRE) ที่มีความไวและจำเพาะสูง สำหรับวินิจฉัยการมีเนื้อเยื่อ พังผืดในตับ ซึ่งบ่งบอกภาวะตับแข็งระยะเริ่มแรก หรือการบอกความผิดปกติของผนังหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

        นอกจากนี้ตัวเครื่องยังถูกออกแบบอุโมงค์ใหม่ให้ กว้าง สั้น ช่วยลดอาการกลัวการเข้าไปอยู่ในบริเวณแคบของผู้ป่วยได้ มีการฟังเพลงขณะตรวจช่วยผ่อนคลาย

         หัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา เปิดเผยว่า ปัจจุบันศูนย์ความเป็นเลิศ CT & MRI โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งใจเปิดบริการเครื่องตรวจสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพิ่มอีก 1 เครื่องรวมเป็น 3 เครื่อง เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งเครื่อง MRI 1.5 เทสลา นี้ถือเป็นเครื่องที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน เพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัยโรคที่ซับซ้อน สามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำสูงและนำไปสู่การรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถลดคิวการรอคอยตรวจของผู้ป่วยอย่างน้อย 1-2 เดือน ทั้งนี้จะเปิดให้บริการ วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. โดยให้บริการควบคู่ กับ MRI เดิม

 

               

241153275_170519845104966_8896792155056274554_n

ขอแสดงความยินดีกับ รศ.พญ.นฤมล เชาว์สุวรรณกิจ เนื่องในโอกาสได้รับพระราชทานรางวัลชนะเลิศ DMSc Award

ภาควิชารังสีวิทยาขอแสดงความยินดีกับ รศ.พญ.นฤมล เชาว์สุวรรณกิจ รับรางวัลชนะเลิศ DMSc Award และโล่รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประเภท หนังสือ/ตำราทางการแพทย์ เรื่อง ภาพรังสีวินิจฉัยชั้นสูงของระบบหัวใจและหลอดเลือด (Advanced Diagnostic Cardiovascular Imaging) ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี 2564 ครั้งที่ 29 “วิทยาศาสตร์การแพทย์วิถีใหม่ เพื่อสุขภาพและเศรษฐกิจไทย” จัดโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และมูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

217909062_255472682682508_5216848794792831586_n

RADIOactivity: การปฐมนิเทศแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านใหม่ ประจำปีการศึกษา 2564

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ทางภาควิชาได้จัดการปฐมนิเทศแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านใหม่ ประจำปีการศึกษา 2564 รวมทั้งหมด 14 คน ซึ่งประกอบไปด้วยสาขารังสีวินิจฉัย 11 คน สาขารังสีรักษา 2 คนและสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ 1 คน โดยมีหัวหน้าภาควิชาและคณาจารย์ให้การต้อนรับและแนะนำการฝึกอบรม