S__1818878-1

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์รังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาของลำตัว (Body Interventional Radiogy) ภาควิชารังสีวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยินดีต้อนรับพยาบาลหลักสูตรมะเร็งเคมีบำบัด งานบริการพยาบาล เข้าศึกษาดูงานในวันที่ 17 กันยายน 2564

 

 

612f227a375f9

คณะแพทยศาสตร์ เพิ่มห้อง MRI เสริมความเป็นเลิศในการตรวจวินิจฉัย

 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น ให้เกียรติเป็นประธาน เปิดตัวเครื่องตรวจ MRI ความแรง สนามแม่เหล็ก 1.5 เทสลา เพิ่มศักยภาพและความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยโรค เพื่อมอบประสิทธิภาพสูงสุดให้กับผู้เข้ารับบริการ

         เครื่อง MRI 1.5 เทสลา จะมีความสามารถในการตรวจหาโรคในอวยัวะต่างๆ ได้รายละเอียด และความคมชัดที่มากขึ้น ทำการตรวจได้มากชนิดภายในระยะเวลาการตรวจที่สั้นลง ครอบคลุมเกือบทุกส่วนในร่างกาย อาทิเช่น โรคทางสมอง โรคหัวใจ เต้านมสตรี ช่องท้อง กระดูกสันหลัง และไขสันหลัง อวัยวะในอุ้งเชิงกราน หลอดเลือดสมองและลำตัว ความผิดปกติของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อกระดูกส่วนต่างๆ เส้นเอ็นบริเวณข้อกระดูก เป็นต้น รวมไปถึงการตรวจอวยัวะอื่นๆ ที่ไม่สามารถตรวจพบด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือในผู้ป่วยที่ไม่สามารถตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และใช้สารทึบแสงได้ เช่น ผู้ป่วย ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยแพ้สารทึบรังสี หรือผู้ป่วยในภาวะไตวาย

รวมทั้งมีซอฟท์แวร์พิเศษที่ทันสมัยเพื่อรองรับการตรวจวินิจฉัยแยกโรคที่มีความซับซ้อนได้ และการตรวจเทคโนโลยีใหม่ ได้แก่ MR elastography (MRE) ที่มีความไวและจำเพาะสูง สำหรับวินิจฉัยการมีเนื้อเยื่อ พังผืดในตับ ซึ่งบ่งบอกภาวะตับแข็งระยะเริ่มแรก หรือการบอกความผิดปกติของผนังหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

        นอกจากนี้ตัวเครื่องยังถูกออกแบบอุโมงค์ใหม่ให้ กว้าง สั้น ช่วยลดอาการกลัวการเข้าไปอยู่ในบริเวณแคบของผู้ป่วยได้ มีการฟังเพลงขณะตรวจช่วยผ่อนคลาย

         หัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา เปิดเผยว่า ปัจจุบันศูนย์ความเป็นเลิศ CT & MRI โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งใจเปิดบริการเครื่องตรวจสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพิ่มอีก 1 เครื่องรวมเป็น 3 เครื่อง เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งเครื่อง MRI 1.5 เทสลา นี้ถือเป็นเครื่องที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน เพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัยโรคที่ซับซ้อน สามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำสูงและนำไปสู่การรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถลดคิวการรอคอยตรวจของผู้ป่วยอย่างน้อย 1-2 เดือน ทั้งนี้จะเปิดให้บริการ วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. โดยให้บริการควบคู่ กับ MRI เดิม

 

               

ประกาศรับสมัครผู้ช่วยนักวิจัย 1 ตำแหน่ง

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประกาศรับสมัครผู้ช่วยนักวิจัยจำนวน 1 อัตรา

คุณสมบัติ :
– อัตราเงินเดือน เดือนละ 11,500 บาท
– วุฒิ ปวส. หรือเทียบเท่า
– หากเป็นชายต้องเป็นผู้ผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือ ได้รับการยกเว้นการเป็นทหาร
– ไม่มีปัญหาเรื่องที่พักอาศัยและสามารถปฏิบัติงานนอกเวลาราชการได้
– มีความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์, โปรแกรมสำเร็จรูป MS Word, Excel,
Power Point, Internet และอื่นๆได้เป็นอย่างดี
– มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และมีความประพฤติดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี

หลักฐานการสมัคร :
– รูปถ่าย 1 นิ้ว 1 ใบ ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี
– สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน
– หากเป็นชายต้องมีใบผ่านการเกณฑ์ทหาร (สด.8 หรือ สด.43)
– ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)

Download ==> https://kku.world/a0pm2 หรือสแกน QR

 

 

 

 

 


ส่งใบสมัครมาที่
 :
ธุรการภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002
โทร. 043 363614 หรือ 043 363178 ในวันและเวลาราชการ

สามารถส่งใบสมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 11 มิถุนายน 64
สอบสัมภาษณ์ 18 มิถุนายน 64 และ เริ่มงาน 1 กรกฎาคม 64

ประกาศรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน (รอบ 2) สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ประจำปีการศึกษา 2564

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เปิดรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน (รอบ 2) เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ตำแหน่ง

ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่
รศ.จรูญศักดิ์ สมบูรณ์พร
ภาควิชารังสีวิทยา โทร. 043-363895-6 ในวันและเวลาราชการ

การอบรมความรู้พื้นฐานด้านการวิจัยทางการแพทย์ 2563


Handout for Sessions

ระเบียบวิธีวิจัยและการวิพากย์บทความวิจัย โดย อ.ยุทธพงศ์ ระรื่นรมย์

QR ระเบียบวิธีวิจัยและการวิพากย์บทความวิจัย โดย อ.ยุทธพงศ์ ระรื่นรมย์

สถิติพื้นฐานในงานวิจัย โดย อ.จิตรจิรา ไชยฤทธิ์

QR สถิติพื้นฐานในงานวิจัย โดย อ.จิตรจิรา ไชยฤทธิ์

Diagnostic Study โดย ผศ.ดริส ธีระกุลพิศุทธิ์

Prognostic Study โดย รศ.จรูญศักดิ์ สมบูรณ์พร

QR Prognostic Study โดย รศ.จรูญศักดิ์ สมบูรณ์พร

Intervention Study โดย อ.นันทพร วงศ์สุรวัฒน์

Systematic Review โดย พญ.ธนธรณ์ สวาสดิพันธ์

QR Systematic Review โดย พญ.ธนธรณ์ สวาสดิพันธ์

แบบประเมินการอบรมความรู้พื้นฐานด้านการวิจัยทางการแพทย์

แบบประเมินการอบรมความรู้พื้นฐานด้านการวิจัยทางการแพทย์

Video การอบรมความรู้พื้นฐานด้านการวิจัยทางการแพทย์ => คลิกที่นี่

Video การอบรมความรู้พื้นฐานด้านการวิจัยทางการแพทย์ – Google ไดรฟ์ https://kku.world/fz4nk